กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป

มาตรฐานการออกแบบระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปในประเทศไทย

ในปัจจุบันการออกแบบโครงสร้างสำเร็จรูปในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมาย หรือมาตรฐาน และวิธีการออกแบบที่ชัดเจน ทำให้วิศวกรยังขาดความรู้ความเข้าใจการออกแบบโครงสร้างสำเร็จรูป สำหรับมาตรฐานในการออกแบบในประเทศไทย ใช้มาตรฐานการออกแบบของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ที่อ้างอิงมาจาก ACI 318M-14 (2014) Building Code Requirements for Structural Concrete and Commentary ได้แก่ มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีใช้หน่วยแรงใช้งาน (ว.ส.ท. 1007-34) และ มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีกำลัง (ว.ส.ท. 1008-38) โดยมาตรฐานนี้ได้กำหนดรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับคอนกรีตหล่อสำเร็จรูป ที่ครอบคลุมถึงข้อกำหนดทั่วไป สำหรับวัสดุมวลรวม ความหนาของคอนกรีตที่หุ้มเหล็กเสริม แบบรายละเอียด การบ่ม การทำเครื่องหมายเพื่อระบุชิ้นส่วน การขนส่ง การเก็บรักษา การต่อเหล็กเสริม และการคำนวณออกแบบกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ใช้เป็นแนวทางในการออกแบบโครงสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปด้วยระบบผนังรับแรง (Bearing Wall) ที่ระบุข้อกำหนดสำหรับเหล็กเสริมต่ำสุด และวิธีการคำนวณออกแบบโดยออกแบบเป็นองค์อาคารรับแรงอัดที่รับน้ำหนักบรรทุกตามแนวแกน หรือแรงดัดร่วมกับน้ำหนักบรรทุกตามแนวแกนหรือคำนวณออกแบบโดยใช้สูตรสำเร็จสำหรับการออกแบบตามมาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน (ว.ส.ท. 1007-34) กำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้รับน้ำหนักร่วมศูนย์โดยประมาณ สามารถคำนวณหาค่าหน่วยแรงอัดที่ยอมให้ (fc) โดยใช้สูตรสำเร็จ ดังแสดงในสมการที่ 1.1

สมการที่ 1.1

สำหรับการออกแบบตามมาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีกำลัง ตามมาตรฐาน ว.ส.ท. 1008-38 และ ACI 318M-14  สามารถคำนวณ­หาค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกตามแนวแกนที่คำนวณออกแบบ f Pnw ดังแสดงในสมการที่ 1.2 และ 1.3 ตามลำดับ

สมการที่ 1.2
สมการที่ 1.3

โดยที่อัตราส่วนเหล็กเสริมในแนวตั้งและในแนวนอนต่อพื้นที่หน้าตัดคอนกรีตต่ำที่สุด ดังแสดงในตาราง โดยแบบแสดงรายละเอียดต้องแสดงรายละเอียดทั้งหมดของเหล็กเสริม จุดต่อ จุดรองรับ อุปกรณ์ฝังยึด ระยะหุ้มคอนกรีต ช่องเปิด รูปแบบและอุปกรณ์ในการยก การประกอบ และความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้

ตาราง แสดงปริมาณเหล็กเสริมน้อยที่สุดอัตราส่วนเหล็กเสริมทางยาว และเหล็กเสริมทางขวาง

มาตรฐานการออกแบบระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปในต่างประเทศ

สำหรับกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป ได้มีการพัฒนามาตรฐานสำหรับการออกแบบโครงสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูป อาทิ มาตรฐานการออกแบบของประเทศอังกฤษ BS – British Standard และมาตรฐานเยอรมัน DIN – Deutsches Institut für Normung ซึ่งในปัจจุบันได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและปรับใช้สำหรับเป็นมาตรฐานของกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป หรือที่เรียกว่า European Standard (EN) ซึ่งมีมาตรฐานที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโครงสร้างในระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปอยู่หลายมาตรฐานได้แก่ DIN 1045-1984: Design of Concrete and Reinforced Concrete Members, DIN 1045-1: Concrete, reinforced and prestressed concrete structures – Part 1: Design and construction, สำหรับมาตรฐาน DIN 1045-1 ในปัจจุบันได้ถูกถอนและปรับเปลี่ยนเป็นมาตรฐานของกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปแทน คือ EN 1992-1-1 (2004) Eurocode 2: Design of concrete structures – Part 1-1: General rules and rules for buildings, EN 1992-1-2 (2004) Eurocode 2: Design of concrete structures – Part 1-2: General rules – Structural fire design, EN 1992-1-4 (2004) Eurocode 2: Design of concrete structures – Part 4: Design of fastenings for use in concrete, EN 13791 (2007): Assessment of in-situ compressive strength in structures and precast concrete components และ EN 13369 (2004): Common rules for precast concrete products ที่เป็นมาตรฐานที่น่าสนใจที่จะนำมาศึกษาในการออกแบบระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปต่อไป

มาตรฐาน EN 13369 (2004): Common rules for precast concrete products

มาตรฐานนี้ได้กล่าวถึงข้อกำหนดทั่วไปทั้งที่เกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูป และชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่ได้จากการผลิต เพื่อใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิงในการพิจารณาและการตรวจสอบชิ้นส่วนสำเร็จรูป โดยมีสาระสำคัญที่สรุปได้ดังแสดงในหัวข้อดังต่อไปนี้

คุณสมบัติที่ต้องการ

1.คุณสมบัติวัสดุที่ต้องการ

เหล็กเสริม (Reinforcing Steel) เหล็กเสริมคอนกรีตมีคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามมาตรฐานเหล็กที่ใช้เสริมคอนกรีต prEN 10080 ร่วมกับคุณสมบัติตามที่ระบุใน EN1992-1-1 สำหรับเหล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. – 14 มม. ให้พิจารณาคุณสมบัติตามคุณสมบัติของแท่งเหล็กและลวดเหล็ก (Properties of indented bars and wire) แท่งเหล็กและลวดเหล็กที่ใช้ให้เป็นไปตามมาตรฐาน EN 1992-1-1: 2004

เหล็กเสริมอัดแรง (Prestressing Steel) เหล็กเสริมอัดแรงมีคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามมาตรฐานเหล็กที่ใช้เสริมคอนกรีต prEN 10138-1, prEN 10138-2, prEN 10138-3 และ prEN 10138-4 ร่วมกับคุณสมบัติตามที่ระบุใน EN 1992-1-1 เหล็กเสริมอัดแรงชนิดอื่น ๆ สามารถใช้ได้โดยอ้างอิงมาตรฐานที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเภท

อุปกรณ์ตัวยึด (Inserts and Connectors) อุปกรณ์ตัวยึดมีกลสมบัติต้านทานแรงตามที่ออกแบบ มีความทนทาน ตลอดช่วงอายุใช้งาน

ตาราง วิธีการบ่มคอนกรีต

2.การผลิต

คอนกรีต (Concrete Production) ส่วนประกอบของคอนกรีต ประเภทของซีเมนต์ และสารผสมเพิ่ม ให้อ้างอิง EN 206-1: 2000 การบ่มคอนกรีตให้เป็นไปตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังระบุในตารางที่ 1.7 และบ่มจนคอนกรีตมีความแข็งแรงอย่างน้อยตามที่ระบุในตารางที่ 1.8 โดยการทดสอบกำลังอัดคอนกรีต (Potential Compressive Strength) ที่อายุ 28 วัน

ตาราง ค่ากำลังอัดต่ำสุด เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการบ่มคอนกรีต

การเสริมเหล็ก (Structural Reinforcement) ขั้นตอนการอัดแรงในชิ้นส่วนอัดแรงจะต้องไม่ทำให้เกิดรอยร้าวตามแนวยาวและการระเบิดแตกออกของคอนกรีต หน่วยแรงที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วนอัดแรงต้องไม่ทำให้เกิดการหดตัว (Creep) ที่มากเกินกำหนด ค่าแรงดึง (Tensioning Force) ที่ให้ชิ้นส่วนอัดแรงและค่าแรงดึงเป้าหมาย โดยมีความคลาดเคลื่อนอยู่ในช่วงที่ระบุ ดังนี้ (ช่วง Initial Stress)

Class A – normal tolerances

–  single tendon/force: ±7 %

–  total force: ±5 %

Class B – tightened tolerances

–  single tendon/force:   ±4 %

สำหรับ Class B ค่าหน่วยแรงดึง (Maximum Value of Tensioning Stress, s0max ) คำนวณจาก

และในช่วงขณะถ่ายแรง (at transfer of the prestressing force) คอนกรีตควรมีกำลังอย่างน้อย  (Maximum Compressive Stress in Concrete) และไม่น้อยกว่า 25 N/mm2 และคอนกรีตต้องมีกำลังเพียงพอสำหรับการจับยึดของเหล็กตีเกลียว (Anchorage of The Strands)

3.คุณสมบัติชิ้นงานที่ต้องการ

ความคลาดเคลื่อนขนาดมิติของชิ้นงาน ขนาดมิติของหน้าตัด (L คือ ระยะตามยาวในหน่วย มิลลิเมตร) ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้ คือ DL ตำแหน่งเหล็กเสริม เหล็กเสริมอัดแรง และ ระยะหุ้มของคอนกรีต (c) ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้คือ  Dc ดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 1.9

ตาราง ค่าความคลาดเคลื่อนขนาดมิติของชิ้นงาน

สำหรับค่า L อื่น ๆ ใช้ DL = ±(10 + L / 1000) ≤ ±40 mm

ความต้านทานทางกล (Mechanical Resistance) ต้องมีการพิจารณาคุณสมบัติโครงสร้างทั้งสถานะวิกฤต และสถานะใช้งาน (Ultimate and Serviceability Limit States) สำหรับการสูญเสียแรงดึง (Prestressing Losses) ให้พิจารณาการสูญเสียแรงดึง โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงก่อนถ่ายแรง (เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น         การลื่นไถลของสมอยึดลวด, การผ่อนคลายของเหล็กในช่วงต้น, การหดตัวของคอนกรีต หรือ        การสูญเสียแรงดึงที่เกิดจากอุณหภูมิ), ช่วงขณะถ่ายแรง (เกิดจากการหดตัวแบบยืดหยุ่นของคอนกรีต) และ ช่วงหลังการถ่ายแรง (เกิดจากการสูญเสียแรงดึงรวมที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติวัสดุในระยะยาว เช่น creep, shrinkage, remaining relaxation in the tendons)พิจารณาความต้านทานทางกลโดยการคำนวณสามารถตรวจสอบกับมาตรฐาน EN 1992 1-1 ความต้านทานทางกลโดยการคำนวณต้องพิจารณาร่วมกับผลการทดสอบเมื่อรูปแบบโครงสร้างแตกต่างจากที่กล่าวไว้ใน EN 1992 1-1 โดยทดสอบกับชิ้นตัวอย่างขนาดเท่าขนาดจริงจำนวนหนึ่งด้วยวิธีการทดสอบการรับน้ำหนัก (Load-Tests) จนถึงน้ำหนักวิกฤต (Ultimate Design Conditions) สำหรับการพิจารณาความต้านทานทางกลโดยการทดสอบใช้วิธี Direct Load Test ตามมาตรฐาน EN 1990 ค่าตัวคูณความปลอดภัย (Safety Factors) มีรายละเอียดใน ตารางที่ 1.10 และ รูปที่ 1.70 ทั้งนี้ให้พิจารณา Nominal Transverse Horizontal Force เผื่อกรณีเคลื่อนย้ายชิ้นงานโดยใช้ที่ 1.5% ของน้ำหนักชิ้นงานนั้น ๆ ด้วย

ตาราง เกณฑ์ความคลาดเคลื่อน

ถ้าในการผลิตสามารถควบคุมความคลาดเคลื่อนของขนาดมิติได้ดังที่แสดงใน ตารางที่ 1.10 สามารถใช้ค่าตัวคูณความปลอดภัยที่ gs = 1.10 และถ้าค่ากำลังของคอนกรีตมีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 10% สามารถใช้ค่าตัวคูณความปลอดภัยที่ gc = 1.4

ค่าความคลาดเคลื่อนของภาคตัดขวาง

หากข้อจำกัดของหน้าตัดเป็นไปตามรูป สามารถใช้ค่าตัวคูณความปลอดภัยที่ gs = 1.05, gc = 1.45 ถ้าค่ากำลังของคอนกรีตมีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 10% สามารถใช้ค่าตัวคูณความปลอดภัยที่ gc = 1.35

ปฏิกิริยาต่อความทนไฟ (Resistance and Reaction to Fire)  สามารถแบ่งระดับความสามารถในการทนไฟ โดยวิธีทดสอบตามมาตรฐาน EN 13501-2 หรือโดยอ้างอิงข้อมูลตามตารางในมาตรฐาน EN 1992-1-2 หรือโดยวิธีคำนวณตามมาตรฐาน EN 1992-1-2

คุณสมบัติของเสียง (Acoustic Properties) คุณสมบัติฉนวนกันเสียงสามารถประมาณโดยการคำนวณ หรือการวัดโดยอ้างอิงมาตรฐาน EN ISO 140-3 ส่วนคุณสมบัติฉนวนกันเสียงกระแทกสามารถประมาณโดยการคำนวณ หรือการวัดโดยอ้างอิงมาตรฐาน EN ISO 140-6

คุณสมบัติทางความร้อน (Thermal properties) คุณสมบัติทางความร้อนสามารถแสดงในรูปของค่าการนำความร้อนของวัสดุ (EN 12664) หรือค่าต้านทานความร้อนของชิ้นงาน (EN ISO 6946 หรือ EN ISO 8990, EN 1934)

ความทนทาน (Durability) ความทนทานของชิ้นส่วนคอนกรีตอัดแรง (Precast Concrete Elements) สามารถตรวจสอบได้จาก ส่วนผสมคอนกรีต อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ กำลังของคอนกรีตตามมาตรฐาน EN 206-1: 2000, การบ่มชิ้นงานเป็นไปตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ระยะหุ้มของคอนกรีตต่ำสุดและคุณสมบัติของคอนกรีตหุ้ม ให้พิจารณาในเรื่องของความต้านทานการกัดกร่อนของเหล็กเสริมโดยตรวจสอบตามมาตรฐาน EN 1992-1-1:2004 ดังแสดงในตารางที่ 1 และ 2 การควบคุมการแตกร้าวพิจารณาตามมาตรฐาน EN 1992-1-1:2004    และการพิจารณาปริมาณเหล็กเสริมขั้นต่ำ (Minimum Reinforcement Area) เป็นตามมาตรฐาน EN 1992-1-1:2004

ตาราง แสดงระดับความรุนแรงของสภาวะการกัดกร่อน

ตาราง ระยะหุ้มของคอนกรีตต่ำสุด (มม.)

หมายเหตุ  cmin สำหรับสภาวะตามระบุในตารางที่ 1.11 และ c0 สำหรับสภาวะพิเศษ เช่น ชิ้นงานมีการสัมผัสกับสารเคมี

เมื่อใช้เหล็กเสริมที่มีความสามารถในการต้านทานการกัดกร่อน ระยะคอนกรีตหุ้มที่กำหนดในตารางที่ 1.12 อาจลดลง 5 มม. แต่ระยะคอนกรีตหุ้มต้องไม่น้อยกว่า 10 มม.

เมื่อคอนกรีต Class C40/50 และมีค่าการดูดซึมน้ำน้อยกว่า 5.0% ระยะคอนกรีตหุ้มที่กำหนดในตารางที่ 1.12 อาจลดลง 5 มม. แต่ระยะคอนกรีตหุ้มต้องไม่น้อยกว่า 10 มม.

เมื่อคอนกรีต Class C50/60 และมีค่าการดูดซึมน้ำน้อยกว่า 4.0% ระยะคอนกรีตหุ้มที่กำหนดในตารางที่ 1.12 อาจลดลง 10 มม. แต่ระยะคอนกรีตหุ้มต้องไม่น้อยกว่า 10 มม.

การทดสอบ

1. การทดสอบคอนกรีต

กำลังต้านแรงอัด การทดสอบชิ้นตัวอย่างตามมาตรฐาน EN 12390-2 และ EN 12390-3 โดยใช้ขนาดชิ้นตัวอย่างสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ 100 มม. และขนาดชิ้นตัวอย่างทรงกระบอกเส้นผ่าศูนย์กลาง 113 มม.สูง 226 มม. หากเก็บชิ้นตัวอย่างโดยการเจาะจากชิ้นงาน (Drilled cores) ให้ใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางในช่วง 100 มม. – 150 มม. โดยเทียบเท่ากำลังต้านทานแรงอัดกับชิ้นตัวอย่างสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ 150 มม. หรือ ชิ้นตัวอย่างโดยการเจาะจากชิ้นงานที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางในช่วง 100 มม. – 150 มม. และมีอัตราส่วนความสูงต่อเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 2.0 โดยเทียบเท่ากำลังต้านทานแรงอัดกับชิ้นตัวอย่างทรงกระบอก (150 x 300) มม. เมื่อบ่มที่สภาวะเดียวกัน ไม่ใช้ตัวอย่างโดยการเจาะจากชิ้นงานที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 50 มม.

การดูดซึมน้ำ (Water absorption) การเตรียมชิ้นตัวอย่าง ให้ตัดหรือเจาะชิ้นตัวอย่างทดสอบจากชิ้นงานหรือหล่อใหม่ โดยชิ้นตัวอย่างมีน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม – 5.0 กิโลกรัม (ที่สภาวะแห้ง) และมีขนาดดังนี้ สำหรับชิ้นตัวอย่างที่ตัดหรือเจาะชิ้นตัวอย่างทดสอบจากชิ้นงาน ขนาดขึ้นอยู่กับความหนาของชิ้นงาน โดยพิจารณาเป็น

– Thin products เมื่อความหนาคือ 30 มม. – 100 มม.

– Thick products เมื่อมีความหนา 100 มม. ขึ้นไป

สำหรับ Thin products และ Thick products ตัดชิ้นตัวอย่างหนาเท่าความหนาของชิ้นงานขนาดตามตารางระยะหุ้มของคอนกรีตต่ำสุด (มม.) ทำความสะอาดด้านที่ถูกตัดโดยปัดฝุ่นออกด้วยแปรงให้ชิ้นตัวอย่างมีอุณหภูมิที่ (20 ± 3)°C และปิดด้านที่ถูกตัดด้วยยาง (Resin) สำหรับชิ้นตัวอย่างหล่อเป็นลูกบาศก์หรือทรงกระบอกได้โดยมีขนาดตามตารางขนาดของชิ้นตัวอย่าง

ชิ้นตัวอย่างสำหรับ Thin product

ตาราง ขนาดของชิ้นตัวอย่าง

ขั้นตอนการทดสอบ

  • แช่ชิ้นตัวอย่างในน้ำที่อุณหภูมิ (20 ± 5)°C แต่ละชิ้นวางห่างกันอย่างน้อย 15 มม. และให้น้ำท่วมชิ้นตัวอย่างอย่างน้อย 20 มม. โดยแช่อย่างน้อย 3 วัน และให้มีมวล M1 คงที่ ก่อนทำการชั่งหาน้ำหนักให้เช็ดชิ้นตัวอย่างให้แห้งด้วยผ้าหรือฟองน้ำชื้น บันทึกมวล M1
  • นำชิ้นตัวอย่างไปอบแห้งที่อุณหภูมิ (105 ± 5)°C อย่างน้อย 3 วันจนอุณหภูมิคงที่ นำออกจากเตาอบทิ้งให้เย็นที่อุณหภูมิห้อง ชั่งและบันทึกมวล M2
  • คำนวณเปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำของแต่ละชิ้นตัวอย่างจาก100 x (M1 – M2)/M2

หน่วยน้ำหนักแห้งของคอนกรีต (Dry density of concrete) ทดสอบชิ้นตัวอย่างอ้างอิงตามมาตรฐาน EN 12390-7

แสดงการวัดขนาดมิติ ความยาว สูง กว้าง และหนา ของชิ้นตัวอย่าง

2.การวัดขนาดมิติ และคุณสมบัติของพื้นผิว

การวัดขนาดมิติ และคุณสมบัติของพื้นผิวของชิ้นงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ถ้าไม่มีมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่ระบุโดยเฉพาะ สามารถปฏิบัติตามรายละเอียดในหัวข้อดังต่อไปนี้ได้

ขนาดมิติให้อ้างอิงที่อุณหภูมิระหว่าง 10 – 30°C ที่อายุ 28 วัน ให้ใช้เครื่องมือวัดที่ความละเอียด 1/5 หรือละเอียดกว่านั้น ของค่าความคลาดเคลื่อนที่จะทำการตรวจสอบ

การวัดขนาดมิติ (Measurement of dimensions)

2.1  ความยาว สูง กว้าง และหนา ไม่ควรวัดขนาดมิติที่ขอบ ให้วัดดังแสดง ตามรูปแสดงการวัดขนาดมิติ ความยาว สูง กว้าง และหนา ของชิ้นตัวอย่าง ในหน่วยมิลลิเมตร

2.2 การบิดงอ และความตรงของด้าน

แสดงการวัดการบิดเบี้ยว และความตรงของด้าน ของชิ้นตัวอย่าง

2.3 ชิ้นตัวอย่างที่ไม่เป็นมุมฉาก กำหนดค่าความคลาดเคลื่อน จาก d1 – d2

แสดงการวัดชิ้นตัวอย่างที่ไม่เป็นมุมฉาก

2.4 ลักษณะเฉพาะของพื้นผิว

ให้ระบุลักษณะพื้นผิวตามที่แสดงในรูปตัวอย่างการให้คำจำกัดความของพื้นผิวลักษณะต่าง ๆ และ รูปตัวอย่างการวัดมิติของพื้นผิวลักษณะต่าง ๆ แสดงระยะในหน่วยมิลลิเมตร และ d0 คือระยะความสูงของจุดรองรับ (Supporting Piece)

แสดงตัวอย่างการให้คำจำกัดความของพื้นผิวลักษณะต่าง ๆ
แสดงตัวอย่างการวัดมิติของพื้นผิวลักษณะต่าง ๆ

2.5 มุมและการโก่ง

การวัดมุมและการโก่ง

3.น้ำหนักของชิ้นงาน

เมื่อต้องตรวจสอบน้ำหนักของชิ้นงาน ให้ใช้ค่าความถูกต้อง ± 3%