การเปรียบเทียบระยะเวลาการก่อสร้าง

การเปรียบเทียบระยะเวลาการก่อสร้างระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปกับระบบก่อสร้างปกติ

ข้อแตกต่างของการก่อสร้างแต่ละระบบ

ความแตกต่างได้เปรียบของการก่อสร้างแต่ละระบบ ซึ่งสาระสำคัญของข้อแตกต่างวิธีการก่อสร้างจะเป็นประเด็นเชิงเทคนิคในการก่อสร้างซึ่งหากพิจารณาแล้วพบว่ามีปัจจัยที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ แสดงข้อแตกต่างของวิธีการก่อสร้างระบบคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อกับที่ (Cast-in-place Construction) กับระบบก่อสร้างแบบระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ทั้งระบบเสาและคาน และระบบผนังรับแรง

ระบบก่อสร้างปกติ

ข้อได้เปรียบ

  1. เป็นวิธีการที่คุ้นเคย ช่างฝีมือรู้ปัญหาที่เกิดขั้น
  2. การความคุมงานและการหาช่างฝีมือมาทำงานได้ได้งานกว่า
  3. วิธีการก่อสร้างมีความยืดหยุ่น และดัดแปลงได้ในระดับหนึ่ง

ข้อเสียเปรียบ

  1. ใช้ไม้แบบในการหล่อชิ้นส่วนโครงสร้างกับที่ ทำให้เกิดความสูญเสียวัสดุไม้แบบ ถึงแม้ว่าจะนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 2 ครั้งก็ตาม
  2. ใช้แรงงานจำนวนมากในการก่อสร้าง
  3. สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยทำให้การก่อสร้างหยุดลงชั่วขณะ
  4. การความคุมภาพทำได้ยาก มีความคลาดเคลื่อนสูง

ระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป เสา-คาน

ข้อได้เปรียบ

  1. ชิ้นส่วนที่ผลิตจากโรงงานมีขนาดที่แน่นอน ค่าความคลาดเคลื่อนน้อย
  2. เนื่องจากอาศัยระบบการผลิตทำให้สามารถลดจำนวนคนงานได้
  3. เนื่องจากการผลิตชิ้นส่วนด้วยอุสาหกรรมทำให้การควบคุมคุณภาพชิ้นส่วนง่าย และสามารถผลิตล่วงหน้าได้ ทำให้วางแผนการผลิตและระยะเวลาการก่อสร้างได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น

ข้อเสียเปรียบ

  1. ระบบผนังหากใช้วิธีการก่อผนังจะไม่ช่วยร่นระยะเวลาในการก่อสร้าง หากใช้ผนังหล่อสำเร็จรูปมาประกอบจะทำให้เกิดการทำงานในระบบสำเร็จรูปที่ซับซ้อน และต้องระวังการออกแบบในจุดรอยต่อที่ป้องกันการรั่วซึมของน้ำฝน เข้าสู่ตัวอาคาร
  2. อาศัยการขนส่งและสถานที่มาก ในการพักชิ้นส่วน ชิ้นส่วนมีโอกาสเสียหายได้ในขณะการขนส่ง
  3. ชิ้นส่วนมีจำนวนมากจะต้องอาศัยระบบรหัสชิ้นส่วนและต้องใช้เครื่องจักรในการทำงานรวมไปถึงต้องมีผู้เชียวชาญในการติดตั้งในขณะการก่อสร้าง

ระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ผนังรับแรง

ข้อได้เปรียบ

  1. ชิ้นส่วนจำนวนน้อยลงทำให้ลงระยะเวลาในการติดตั้ง
  2. ลดงานวัสดุก่อผนัง ลดงานฉาบ ทำให้ระยะเวลาการก่อสร้าง เป็นไปด้วยความลดเร็ว
  3. ลดการติดตั้งคาน-เสา และยอดผนังสามารถใช้แทนจันทันได้ส่วนหนึ่งทำให้ประหยัดโครงหลังคา

ข้อเสียเปรียบ

  1. เนื่องจากเป็นชิ้นส่วนแผ่นระบบจึงมีขนาดใหญ่โอกาสของการเสียหายต่อชิ้นส่วนจึงมีมากการขนส่งจึงได้จำนวนน้อยต่อเที่ยว และใช้เครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่ในการติดตั้งชิ้นส่วน
  2. รอยต่อจะมีความสำคัญมากจะต้องออกแบบจุดรอยต่อที่ป้องกันการรั่วซึมของน้ำฝนเข้าสู่อาคาร
  3. มีการลงทุนมากในระยะแรก มีการใช้ปริมาณ คอนกรีต เหล็ก และไม้แบบมากขึ้น

ระยะเวลาการก่อสร้างแต่ละระบบ

ระยะเวลาในการก่อสร้าง ได้ทำการเปรียบเทียบระหว่างการก่อสร้างทั่วไป โดยคิดต่อการก่อสร้าง 1 หลัง เทียบกับการก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป (R.C. Prefabrication System) ทั้งระบบเสาคาน และระบบผนังรับแรง โดยคิดต่อการก่อสร้าง 1 หลัง เช่นกัน สามารถแสดงรายระเอียดการวางแผนงานได้ดังตารางที่  1 ถึงตารางที่ 3 พบว่าเมื่อเปรียบระยะเวลาการก่อสร้างทั้ง 3 ระบบ การก่อสร้างด้วยระบบเสาและคาน (Post and Beam System) และระบบผนังรับแรง (Wall Bearing System) ใช้เวลาในการก่อสร้างน้อยกว่าวิธีการก่อสร้างทั่วไป (Conventional System) กล่าวคือมีจำนวนระยะเวลาในการก่อสร้างเพียงแค่ 30 วันต่อการสร้างหนึ่งหลัง ในขณะที่วิธีการก่อสร้างแบบทั่วไปใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 60 วัน  ต่อการสร้างหนึ่งหลังซึ่งลดระยะเวลาได้ลงถึงครึ่งหนึ่ง

ตาราง  ตัวอย่างแผนงานการก่อสร้าง ระยะเวลา และจำนวนกำลังคน วิธีการก่อสร้างแบบทั่วไป บ้านเดี่ยว 2 ชั้น

อันดับ เนื้องาน จำนวนวัน จำนวนคน
1 วางผัง วางแนว ปรับระดับ 1 5
2 ตอกเข็ม ทำแบบฐานราก ผูกเหล็ก 3 12
3 ปรับแนวคานคอดิน ติดตั้งไม้แบบเสา เทคอนกรีต 7 12
4 ผูกเหล็กเสา ตั้งไม้แบบเสา เทคอนกรีตชั้น 1 7 10
5 ปรับแนวคาน ตั้งไม้แบบคาน ผูกเหล็ก เทคอนกรีตชั้น 2 7 12
6 ผูกเหล็กเสา ตั้งไม้แบบเสา เทคอนกรีต ชั้นที่ 2 7 10
7 วางโครงหลังคาเหล็กและมุงหลังคา 4 7
8 วางพื้นสำเร็จรูปชั้นที่ 1 1 2
9 วางพื้นสำเร็จรูปชั้นที่ 2 1 2
10 ก่อผนังชั้น ที่ 1 2 5
11 ก่อผนังชั้นที่ 2 2 5
12 เทปูนทรายปรับระดับพื้น ชั้นที่ 1 1 3
13 เทปูนทรายปรับระดับพื้น ชั้นที่ 2 1 3
14 ฉาบปูนภายในและภายนอก 5 7
15 งานประตูหน้าต่าง งานเปิดผิวพื้นฝ้าเพดาน 5 9
16 งานประปา สุขาภิบาล และสุขภัณฑ์ 3 2
17 งานเดินสายไฟฟ้า 2 3
18 งานทาสี 5 5
รวมระยะเวลาในการก่อสร้าง 60 วัน

ที่มา : ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (2548)

 

ตารางที่ แผนงานการก่อสร้าง ระยะเวลา และจำนวนกำลังคน วิธีการก่อสร้างระบบเสาคาน บ้านเดี่ยว 2 ชั้น

อันดับ เนื้องาน จำนวนวัน จำนวนคน
1 วางผัง วางแนว ปรับระดับ 1 3
2 ตอกเข็ม ทำแบบฐานราก ผูกเหล็ก 3 12
3 ติดตั้งตอม่อ เสาเข็มสำเร็จรูป จัดแนว ดิ่ง ปรับระดับ 1 4
4 เทคอนกรีต ฐานรากเชื่อมตอม่อ 1 6
5 ติดตั้งคานคอนกรีตสำเร็จรูป คานคอดิน 1 6
6 ดินตั้งพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นที่ 1 1 6
7 ติดตั้งเสาและผนังสำเร็จรูปพร้อมค้ำยัน ชั้นที่ 1 1 6
8 ติดตั้งคานคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นที่ 2 1 6
9 ติดตั้งพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นที่ 2 1 6
10 ติดตั้งเสาและผนังสำเร็จรูป พร้อมคำยันชั้นที่ 2 1 6
11 ถอดค้ำยันผนัง และเสาชั้นที่ 1 1 3
12 เทคอนกรีตประสานแผ่นพื้นชั้นที่ 1 1 3
13 ติดตั้งเสา และผนังสำเร็จรูป พร้อมค้ำยัน ชั้นที่ 2 2 6
14 ติดตั้งโครงหลังคาเหล็ก 2 5
15 ถอดค้ำยันและเสาชั้นที่ 2 1 3
16 เทคอนกรีตประสานแผ่นพื้นชั้นที่ 2 1 3
17 แต่งผิวรอยต่อและงานวัสดุกันซึม 2 5
18 งานประตูหน้าต่าง งานปิดผิวพื้น ฝ้าเพดาน งานสี 7 9
19 งานประปา สุขาภิบาล และสุขภัณฑ์ 3 2
20 งานเดินสายไฟฟ้า 2 3
21 งานทาสี 5 5
รวมระยะเวลาในการก่อสร้าง 30 วัน

ที่มา : ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (2548)

 

ตาราง แผนงานการก่อสร้าง ระยะเวลา และจำนวนกำลังคน ระบบผนังรับแรง บ้านเดี่ยว 2 ชั้น

อันดับ เนื้องาน จำนวนวัน จำนวนคน
1 วางผัง วางแนว ปรับระดับ 1 3
2 ตอกเข็ม ทำแบบฐานราก ผูกเหล็ก 3 12
3 ติดตั้งตอม่อ เสาเข็มสำเร็จรูป จัดแนว ดิ่ง ปรับระดับ 1 4
4 เทคอนกรีต ฐานรากเชื่อมตอม่อ 1 6
5 ติดตั้งคานคอนกรีตสำเร็จรูป คานคอดิน 1 7
6 ติดตั้งพื้นห้องน้ำ พื้น BF Slab  ติดตั้งพื้นสำเร็จรูป ชั้นที่ 1 1 5
7 ติดตั้งผนังชั้น 1 1 6
8 ติดตั้งคาน 1 6
9 ติดตั้งพื้นสำเร็จรูปชั้นที่ 2 1 5
10 ถอดค้ำยัน PF และ ถอดค้ำยันผนัง ชั้นที่ 1 1 3
11 ติดตั้งผนังชั้นที่ และยึดโครงค้ำยันไว้ทั้งหมด 2 7
12 ติดตั้งโครงเหล็กหลังคาเหล็ก 2 5
13 ถอดค้ำยันผนังชั้นที่ 2 1 3
14 เทคอนกรีตประสานที่พื้น 1 5
15 แต่งผิวรอยต่อและงานวัสดุกันซึม 2 5
16 งานประตูหน้าต่าง งานปัดผิวพื้น ฝ้าเพดาน งานสี 7 9
17 งานประปาสุขาภิบาล และสุขภัณฑ์ 3 2
18 งานเดินสายไฟฟ้า 2 3
18 งานทาสี 5 5
รวมระยะเวลาในการก่อสร้าง 60 วัน

ที่มา : ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (2548)