ผลการวิเคราะห์

สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลทัศนคติและความต้องการของผู้พักอาศัย

2.1 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และ ภาคกลาง

จังหวัดที่ทำการเก็บข้อมูลในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ และสมุทรสาคร  ทำงาน เป็นพนักงานบริษัท / ราชการ / พนักงาน

ส่วนที่ 1 ลักษณะที่อยู่อาศัย ความรู้ ความเห็นที่มีต่อที่อยู่อาศัยและค่าใช้จ่ายในการพักอาศัย

ลักษณะที่อยู่อาศัยปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นอาคารซึ่งสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปโครงการ การเคหะแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับงานก่อสร้างที่พักอาศัยระดับปานกลาง มีความเห็นเกี่ยวกับระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป  คือ ราคาถูกและมีความรวดเร็วในการก่อสร้าง ส่วนความเห็นเกี่ยวกับระบบการก่อสร้างที่พักอาศัยแบบดั้งเดิม คือ ไม่มีความคิดเห็น / ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้าง และการก่อสร้างล่าช้า

ประเภทของที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่เป็นอาคารชุดราคาต่ำกว่า 1.0 ล้านบาท มีลักษณะเป็นเจ้าของ และ ต้องผ่อนชำระค่าที่อยู่อาศัยต่อเดือน โดยการเคหะแห่งชาติ ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของและต้องผ่อนชำระค่าที่อยู่อาศัยต่อเดือน โดยชำระค่าที่อยู่อาศัยต่อเดือนต่ำที่สุด คือ 1,400 บาท สูงที่สุด คือ 8,900 ค่าเฉลี่ย 2,934.37 บาท ในขณะที่เอกชนส่วนใหญ่เป็นเจ้าของและไม่ต้องผ่อนชำระค่าที่อยู่อาศัยแล้ว มียานพาหนะ คือ รถยนต์ การเดินทางไปทำงาน ด้วยรถยนต์ส่วนตัวมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง จากที่พักปัจจุบันไปกลับที่ทำงาน พบว่า มีค่าเฉลี่ยในการเดินทาง 121.71 บาท ส่วนใหญ่เสียค่าใช้จ่ายต่อวัน 100 บาท และเมื่อจำแนกตามลักษณะที่อยู่อาศัย พบว่า การเคหะแห่งชาติมีค่าเฉลี่ยในการเดินทาง 96.57 บาท เอกชนมีค่าเฉลี่ยในการเดินทาง 161.03 บาท  การจอดยานพาหนะโดยส่วนใหญ่กรณีอาคารแนวราบ จอดภายในบริเวณบ้าน กรณีอาคารชุด  จอดซ้อนคันในเส้นทางจราจรหรือริมถนนในโครงการ

ส่วนที่ 2 พฤติกรรมการใช้พื้นที่ในอาคาร ความต้องการของผู้อยู่อาศัย และ การปรับปรุง ต่อเติมอาคาร

ความเหมาะสมของวัสดุที่โครงการใช้กับราคาที่พักอาศัย พบว่า  ส่วนใหญ่คิดว่า เหมาะสม กรณีไม่เหมาะสม มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับชนิดของวัสดุที่ต้องการกระเบื้องปูพื้น-ผนังจำนวนมากที่สุด ความเหมาะสมของ ขนาดส่วนต่าง ๆ ของอาคารและเนื้อที่ใช้สอยกับความเหมาะสมของราคาที่โครงการตั้งไว้ ส่วนใหญ่คิดว่า เหมาะสมแล้ว โดยพื้นที่ของบ้านที่คิดว่าจำเป็นมากที่สุด คือ ห้องนอน ส่วนกิจกรรมการใช้พื้นที่นอกบ้าน  คือ จอดรถ และวิธีการกำจัดขยะทั่วไป / ย่อยสลายไม่ได้ ด้วยการ ทิ้งบริเวณที่โครงการจัดให้

ข้อมูลเกี่ยวกับการต่อเติมบ้าน

การต่อเติมบ้านที่ต้องทำโครงสร้างหรือ ก่ออิฐ ฉาบปูน พบว่า ส่วนใหญ่ ไม่มีการต่อเติม กรณีมีการต่อเติมที่อยู่อาศัยมีเหตุผลในการต่อเติม คือ ต้องการพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นโดย เจ้าของบ้าน/ตนเองเป็นผู้ออกแบบและ  ผู้รับเหมาทั่วไป เป็นผู้ต่อเติม โดย  การขออนุญาตต่อเติมจากหน่วยงาน คือ ขออนุญาตจากทั้ง เทศบาล และ ขออนุญาติ นิติบุคคล ส่วนกลางของโครงการ ส่วนใหญ่ไม่เกิดปัญหาภายหลังการต่อเติม และ ความต้องการต่อเติมบ้านในอนาคต พบว่า ไม่ต้องการ

  • ความเห็นเกี่ยวกับความแข็งแรงของอาคาร พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีความแข็งแรงเท่ากับ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม
  • ความปลอดภัยของอาคาร พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีความปลอดภัยเทียบเท่ากับ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม
  • คุณภาพของอาคาร พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีคุณภาพเทียบเท่ากับ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม
  • ความรวดเร็วในการก่อสร้างอาคาร พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ใช้เวลาก่อสร้างรวดเร็วกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม
  • ปัญหาการรั่วซึม พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีปัญหาการรั่วซึมคล้ายกับ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม
  • การซ่อมแซม พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ซ่อมแซมได้ง่ายและประหยัดกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม

ส่วนที่ 3 ความพึงพอใจในการซื้อที่พักอาศัย

ภาพรวมมีความพึงพอใจระดับปานกลางทั้งหมด โดยที่ภาพรวมการให้บริการระหว่างการก่อสร้าง มีค่ามากที่สุด รองลงมา คือ การตรวจรับและส่งมอบบ้าน ราคา และการให้บริการในการโอนบ้านและการกู้ยืม ตามลำดับ

ส่วนที่ 4 ความเห็นที่มีต่อปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างสำเร็จรูป

ภาพรวมความถี่ของปัญหาทุกด้าน มีระดับความถี่ในระดับปานกลางทั้งหมด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านงานอื่นๆ มีระดับปานกลาง มีค่ามากที่สุด รองลงมา คือ งานโครงสร้างอาคาร, การบริหารการก่อสร้าง , งานสถาปัตยกรรมและงานตกแต่ง, งานระบบประปา-สุขาภิบาล และ งานระบบไฟฟ้า ตามลำดับ

ภาพรวมความรุนแรงของปัญหา ส่วนใหญ่มีความรุนแรงระดับปานกลาง โดยที่  งานโครงสร้างอาคารและ การบริหารการก่อสร้างมีความรุนแรงระดับปานกลางมีค่ามากที่สุด รองลงมา คือ งานอื่น ๆ, งานสถาปัตยกรรมและงานตกแต่ง และ งานระบบประปา-สุขาภิบาล ตามลำดับ มีเพียง งานระบบไฟฟ้าที่ มีความรุนแรงระดับน้อย

ส่วนที่ 5 ข้อมูลส่วนบุคคล

เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกที่อยู่อาศัย 3 คน โดยบ้านเดี่ยว มีจำนวนสมาชิกน้อยที่สุด  2 คน มากที่สุด คือ 8 คน บ้านแฝด มีจำนวนสมาชิกน้อยที่สุด  2 คน มากที่สุด คือ 5 คน บ้านแถว (ทาวน์เฮ้าส์) มีจำนวนสมาชิกน้อยที่สุด  2 คน มากที่สุด คือ 6 คน และอาคารชุด  มีจำนวนสมาชิกน้อยที่สุด  1 คน มากที่สุด คือ 7 คน มีอายุ 31 – 40 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และมีรายได้สุทธิของครอบครัว  10,000 – 20,000 บาท

2.2 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลในเขตพื้นที่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคตะวันออก

จังหวัดที่ทำการเก็บข้อมูลในเขตภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคตะวันออก พบว่า ส่วนใหญ่ส่วนใหญ่อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ รองลงมา คือ นครราชสีมา และชลบุรี  ทำงาน เป็นพนักงานบริษัท / ราชการ / พนักงาน

ส่วนที่ 1 ลักษณะที่อยู่อาศัย

ลักษณะที่อยู่อาศัยปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นอาคารซึ่งสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปโครงการ การเคหะแห่งชาติ มีความรู้เกี่ยวกับงานก่อสร้างที่พักอาศัย ระดับปานกลาง มีความเห็นเกี่ยวกับระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป  คือ ราคถูกและไม่มีความคิดเห็น / ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้าง แบบดั้งเดิม ประเภทของที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่เป็นอาคารชุดราคาต่ำกว่า 1.0 ล้านบาท มีลักษณะเป็นเจ้าของ และ ต้องผ่อนชำระค่าที่อยู่อาศัยต่อเดือน โดยการเคหะแห่งชาติ ส่วนใหญ่ เป็นเจ้าของ และ ต้องผ่อนชำระค่าที่อยู่อาศัยต่อเดือน โดยชำระค่าที่อยู่อาศัยต่อเดือนต่ำที่สุด คือ 1,400 บาท สูงที่สุด คือ 75,000ต่อปี ค่าเฉลี่ย 5.109 บาท ในขณะที่เอกชน ส่วนใหญ่ เป็นเจ้าของ และ ไม่ต้องผ่อนชำระค่าที่อยู่อาศัยแล้ว มียานพาหนะ คือ รถยนต์ การเดินทางไปทำงาน ด้วยรถยนต์ส่วนตัวมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง จากที่พักปัจจุบันไปกลับที่ทำงาน พบว่า มีค่าเฉลี่ยในการเดินทาง 100 บาท การจอดยานพาหนะโดยส่วนใหญ่กรณี จอดภายในบริเวณบ้าน กรณีอาคารชุด  จอดในที่จอดไว้

ส่วนที่ 2 พฤติกรรมการใช้พื้นที่ในอาคาร ความต้องการของผู้อยู่อาศัย และ การปรับปรุง ต่อเติมอาคาร

ความเหมาะสมของวัสดุที่โครงการใช้กับราคาที่พักอาศัย พบว่า  ส่วนใหญ่คิดว่า เหมาะสม กรณีไม่เหมาะสม มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับชนิดของวัสดุที่ต้องการ คือ กระเบื้องปูพื้น-ผนังจำนวนมากที่สุด ขนาดส่วนต่าง ๆ ของอาคารและเนื้อที่ใช้สอยกับความเหมาะสมของราคาที่โครงการตั้งไว้ ส่วนใหญ่คิดว่า เหมาะสม แล้วโดยพื้นที่ของบ้านที่คิดว่าจำเป็นมากที่สุด คือ ซักล้าง ส่วนกิจกรรมการใช้พื้นที่นอกบ้าน  คือ ตากผ้า ในกรณีที่ไม่ได้ใช้พื้นที่ทำกิจกรรม สิ่งที่จำเป็นมากที่สุด คือ เก็บของ และวิธีการกำจัดขณะที่สำคัญนั้นคือ ทิ้งไว้บริเวณที่โครงการจัดให้

ข้อมูลเกี่ยวกับการต่อเติมบ้าน

การต่อเติมบ้านที่ต้องทำโครงสร้างหรือ ก่ออิฐ ฉาบปูน พบว่า ส่วนใหญ่ ไม่มีการต่อเติม กรณีการต่อเติม มี รายละเอียดในการต่อเติมที่อยู่อาศัยมีเหตุผลในการต่อเติม คือ ต้องการพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นโดย เจ้าของบ้าน/ตนเองเป็นผู้ออกแบบและ  ผู้รับเหมาทั่วไป เป็นผู้ออกแบบต่อเติม โดย  การขออนุญาตต่อเติมจากหน่วยงาน คือ ไม่ได้ขออนุญาตจากหน่วยงานต่างๆในการต่อเติมโครงการ ปัญหาภายหลังการต่อเติม พบว่า ส่วนใหญ่อาคารทรุดตัวไม่เท่ากัน

  • ความแข็งแรงของอาคาร พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีความแข็งแรงเท่ากับ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม
  • ความปลอดภัยของอาคาร พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีความปลอดภัยสูงกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม
  • คุณภาพของอาคาร พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีคุณภาพเทียบเท่ากับ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม
  • ความรวดเร็วในการก่อสร้างอาคาร พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ใช้เวลาก่อสร้างรวดเร็วกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม
  • ปัญหาการรั่วซึม พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีปัญหาการรั่วซึมคล้ายกับ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม
  • การซ่อมแซม พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ซ่อมแซมได้ง่ายและประหยัดเท่ากกับอาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม

ส่วนที่ 3 ความพึงพอใจในการซื้อที่พักอาศัย

ภาพรวมมีความพึงพอใจระดับปานกลางทั้งหมด โดยที่ภาพรวมการส่งหมอบบ้านกำหนด ราคาบ้านที่อยู่ในระดับความสามารถ และงบประมาณ ในการเป็นเจ้าของหรืออยู่อาศัยได้ มีค่ามากที่สุด รองลงมา คือ ความเรียบร้อยและความสะดวกในการดำเนินการด้านเอกสารในการส่งมอบบ้านและการช่วยประสานงานต่างๆด้านการขอสินเชื่อกับธนาคาร ตามลำดับ

ส่วนที่ 4 ความเห็นที่มีต่อปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างสำเร็จรูป

ภาพรวมความถี่ของปัญหาทุกด้าน มีระดับความถี่ในระดับน้อยทุกด้าน และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า พื้นห้องน้ำรั่ว มีค่ามากที่สุด รองลงมา คือ รอยร้าวที่ผนัง, น้ำซึมเข้าตามรอยร้าวผนัง หรือรอยต่อผนัง และรอยร้าวตามขอบประตู-หน้าต่าง ตามลำดับ

ภาพรวมความรุนแรงของปัญหา ส่วนใหญ่มีความรุนแรงระดับปานกลาง โดยที่  พื้นห้องน้ำรั่วมีความรุนแรงระดับปานกลางมีค่ามากที่สุด รองลงมา คือ น้ำซึมเข้าตามรอยร้าวผนัง, น้ำซึมเข้าทางประตู หน้าต่าง, น้ำรั่วซึม และ งานระบบประปา-สุขาภิบาล และรอยร้าวตามขอบประตู-หน้าต่าง ตามลำดับ มีความรุนแรงระดับน้อย

ส่วนที่ 5 ข้อมูลส่วนบุคคล

ส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกที่อยู่อาศัย 2 คน มีจำนวน 147 ครอบครัว มีจำนวนสมาชิก 7 คน มีเพียง 5 ครอบครัว มีอายุ 31 – 40 ปี มีจำนวน 150 คน ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มี 210 คน มีรายได้สุทธิของครอบครัว  10,000 – 20,000 บาท