ทัศนคติและความต้องการของผู้พักอาศัย

ผลการศึกษาทัศนคติและความต้องการของผู้พักอาศัย

การศึกษาทัศนคติและความต้องการของผู้พักอาศัยที่มีรายได้น้อย–ปานกลาง จากอาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป  การศึกษาครั้งนี้ได้รวบรวมได้จากการตอบแบบสอบถามของผู้อยู่อาศัยที่มีรายได้น้อย-ปานกลาง แบ่งเป็นพื้นที่ที่ทำการศึกษา เป็น 2 พื้นที่ ได้แก่

  1. กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และ ภาคกลาง
  2. ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคตะวันออก

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในแต่ละพื้นที่ ได้นำเสนอเป็น 6 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 ลักษณะที่อยู่อาศัย ความรู้ ความเห็นที่มีต่อที่อยู่อาศัยและค่าใช้จ่ายในการพักอาศัย

ส่วนที่ 2 พฤติกรรมการใช้พื้นที่ในอาคาร ความต้องการของผู้อยู่อาศัย และ การปรับปรุง ต่อเติมอาคาร

ส่วนที่ 3 ความพึงพอใจในการซื้อที่พักอาศัย

ส่วนที่ 4 ความเห็นที่มีต่อปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างสำเร็จรูป

ส่วนที่ 5 ข้อมูลส่วนบุคคล

ส่วนที่ 6 การทดสอบสมมติฐาน

ผลการศึกษาในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และ ภาคกลาง

ส่วนที่ 1 ลักษณะที่อยู่อาศัย ความรู้ ความเห็นที่มีต่อที่อยู่อาศัยและค่าใช้จ่ายในการพักอาศัย

รูปที่ 1 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามความรู้เกี่ยวกับงานก่อสร้างที่พักอาศัย

จากรูปที่ 1 ในส่วนของกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และ ภาคกลาง พบว่า ความรู้เกี่ยวกับ งานก่อสร้างที่พักอาศัย ส่วนใหญ่ มีความรู้ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 48.67 รองลงมา คือ ระดับน้อย (ร้อยละ 39.33) และไม่รู้ (ร้อยละ 9.00) ตามลำดับ โดยที่ ความรู้ระดับมากมีจำนวนน้อยที่สุดเพียง 9 คน คิดเป็นร้อยละ 3.00

รูปที่ 2 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามความเห็นเกี่ยวกับระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป

จากรูปที่ 2 ความเห็นเกี่ยวกับระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป พบว่า ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ราคาถูกมีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.9 รองลงมา คือ มีความรวดเร็วในการก่อสร้าง (ร้อยละ 25.55) และ ไม่มีความคิดเห็น/ไม่มีความรู้เกี่ยวกับระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีร้อยละ 25.11 ตามลำดับ โดยที่อื่น ๆ : เห็นจากโครงการอื่นมาไม่มีปัญหา มีจำนวนน้อยที่สุดเพียง 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.22

รูปที่ 3 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามความเห็นเกี่ยวกับการก่อสร้างที่พักอาศัยแบบดั้งเดิม

จากรูปที่ 3 ความเห็นเกี่ยวกับการก่อสร้างที่พักอาศัยแบบดั้งเดิม พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ มีความคิดเห็น / ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้าง มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.01 รองลงมา คือ การก่อสร้าง ล่าช้า (ร้อยละ 27.58)และ การก่อสร้างที่พักอาศัยแบบดั้งเดิมราคาสูง (ร้อยละ 24.94) ตามลำดับ โดยที่ อื่นๆ : ถูกกว่า เพราะสร้างเอง มีจำนวนน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 0.72

รูปที่ 4 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามประเภทของที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน

จากรูปที่ 4 ประเภทของที่อยู่อาศัย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นอาคารชุดมีจำนวนมากที่สุด 169 คน คิดเป็นร้อยละ 56.33 รองลงมา คือ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด (ร้อยละ 23.67) และ บ้านแถว (ทาวน์เฮ้าส์) (ร้อยละ 8.67) ตามลำดับ และจำนวนชั้น ของแต่ละประเภทที่อยู่อาศัย พบว่า

  • บ้านเดี่ยว ส่วนใหญ่มีจำนวน 2 ชั้น คิดเป็นร้อยละ 36.62
  • บ้านแฝด ส่วนใหญ่มีจำนวน 2 ชั้น คิดเป็นร้อยละ 82.35
  • บ้านแถว (ทาวน์เฮ้าส์) ส่วนใหญ่มีจำนวน 2 ชั้น คิดเป็นร้อยละ 92.31
  • อาคารชุด ส่วนใหญ่มีจำนวน 5 ชั้น คิดเป็นร้อยละ 70.41
รูปที่ 5 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามราคาที่อยู่อาศัย

จากรูปที่ 5 ราคาที่อยู่อาศัย พบว่า ส่วนใหญ่มีราคาต่ำกว่า 1.0 ล้านบาทมีจำนวนมากที่สุด ถึง 215 คน คิดเป็นร้อยละ 71.67 รองลงมา คือ 1.0-1.5 ล้านบาท (ร้อยละ 25.33) และ1.5-2.0 ล้านบาท (ร้อยละ 2.67) ตามลำดับ โดยที่ ราคามากกว่า 3.0 ล้านบาทมีเพียง 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.33

รูปที่ 6 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามค่าใช้จ่ายของที่อยู่อาศัย

จากรูปที่ 6 ค่าใช้จ่ายของที่อยู่อาศัย พบว่าส่วนใหญ่เป็นเจ้าของ และ ต้องผ่อนชำระค่าที่อยู่อาศัยต่อเดือนมีจำนวน 210 คน คิดเป็นร้อยละ 50.7 รองลงมาคือ เป็นเจ้าของและไม่ต้องผ่อนชำระค่าที่อยู่อาศัยแล้ว ร้อยละ 30.0 และเป็นผู้เช่าและ ต้องผ่อนชำระค่าเช่าต่อเดือน ร้อยละ 19.3 ตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์ประเภทลักษณะที่อยู่อาศัย พบว่าการเคหะแห่งชาติ ส่วนใหญ่ เป็นเจ้าของ และ ไม่ต้องผ่อนชำระค่าที่อยู่อาศัยแล้ว ในขณะที่เอกชน ส่วนใหญ่ เป็นเจ้าของและต้องผ่อนชำระค่าที่อยู่อาศัยต่อเดือน โดยชำระค่าที่อยู่อาศัยต่อเดือนต่ำที่สุด คือ 1,400 บาท สูงที่สุด คือ 21,000 บาท

รูปที่ 7 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามการมียานพาหนะ

จากรูปที่ 7 ยานพาหนะ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นมีรถยนต์ สูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 38.42 รองลงมา คือ จักรยานยนต์ (ร้อยละ 38.05) และ จักรยาน (ร้อยละ 17.46) ตามลำดับ โดยที่ รถเข็นสำหรับประกอบอาชีพมีจำนวนน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 0.55

ส่วนที่ 2 พฤติกรรมการใช้พื้นที่ในอาคาร ความต้องการของผู้อยู่อาศัย และ การปรับปรุง ต่อเติมอาคาร

รูปที่ 8 แผนภูมิแท่งแสดงร้อยละจำแนกตามพื้นที่ของบ้านที่คิดว่าจำเป็นมากที่สุด

จากรูปที่ 8 พื้นที่ของบ้านที่คิดว่าจำเป็นมากที่สุด พบว่าส่วนใหญ่คิดว่า ห้องนอนจำเป็นมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 27.33 รองลงมา คือ บริเวณห้องน้ำ (ร้อยละ 26.76) บริเวณครัวหรือเตรียมอาหาร (ร้อยละ 15.53) และบริเวณซักล้าง (ร้อยละ 11.84) ตามลำดับ โดยที่ อื่นๆ : หน้าบ้านมีจำนวนน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 0.11 ตามลำดับ

รูปที่ 9 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามความแข็งแรงของอาคาร

จากรูปที่ 9 ความแข็งแรงของอาคาร พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีความแข็งแรงเท่ากับ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิมมีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 56.67 รองลงมา คือ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีความแข็งแรงมากกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม  (ร้อยละ 33.67) และ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีความแข็งแรงน้อยกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม (ร้อยละ 9.67) ตามลำดับ

รูปที่ 10 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามความปลอดภัยของอาคาร

จากรูปที่ 10  ความปลอดภัยของอาคาร พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีความปลอดภัยเทียบเท่ากับ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 58.33 รองลงมา คือ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีความปลอดภัยสูงกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม (ร้อยละ 34.33) และ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีความปลอดภัยต่ำกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม (ร้อยละ 7.33) ตามลำดับ

รูปที่ 11 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามคุณภาพของอาคาร

จากรูปที่ 11  คุณภาพของอาคาร พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีคุณภาพเทียบเท่ากับ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 56.00 รองลงมา คือ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีคุณภาพต่ำกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม (ร้อยละ 22.33) และ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีคุณภาพสูงกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม (ร้อยละ 21.67) ตามลำดับ

รูปที่ 12 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามความรวดเร็วในการก่อสร้างอาคาร

จากรูปที่ 12  ความรวดเร็วในการก่อสร้างอาคาร พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ใช้เวลาก่อสร้างรวดเร็วกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิมมีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 49.33 รองลงมา คือ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ใช้เวลาก่อสร้างเท่ากับ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม (ร้อยละ 45.00) และ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ใช้เวลาก่อสร้างล่าช้ากว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม (ร้อยละ 5.67) ตามลำดับ

รูปที่ 13 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามปัญหาการรั่วซึม

จากรูปที่ 13  ปัญหาการรั่วซึม พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีปัญหาการรั่วซึมคล้ายกับ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิมมีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47.33 รองลงมา คือ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีปัญหาการรั่วซึมมากกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม (ร้อยละ 45.67) และ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีปัญหาการรั่วซึมน้อยกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม (ร้อยละ 7.00) ตามลำดับ

รูปที่ 14 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามการซ่อมแซม

จากรูปที่ 14  การซ่อมแซม พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ซ่อมแซมได้ง่ายและประหยัดกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิมมีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 53.67 รองลงมา คือ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ซ่อมแซมได้ง่ายและประหยัดเท่ากับ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม (ร้อยละ 36.33) และ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ซ่อมแซมได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม (ร้อยละ 10.00) ตามลำดับ

ส่วนที่ 3 ความพึงพอใจในการซื้อที่พักอาศัย

รูปที่ 15 แผนภูมิแท่งแสดงภาพรวมค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจในการซื้อที่พักอาศัย

ส่วนที่ 4 ความเห็นที่มีต่อปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างสำเร็จรูป

รูปที่ 16 แผนภูมิแท่ง แสดงการเปรียบเทียบปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบ โครงสร้างสำเร็จรูประหว่างความถี่และความรุนแรง
รูปที่ 17 แผนภูมิแท่งแสดงการเปรียบเทียบปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างสำเร็จรูป ด้านงานโครงสร้างอาคาร
รูปที่ 18 แผนภูมิแท่งแสดงการเปรียบเทียบปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างสำเร็จรูป ด้านงานสถาปัตยกรรมและงานตกแต่ง
รูปที่ 19 แผนภูมิแท่งแสดงการเปรียบเทียบปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างสำเร็จรูป ด้าน งานระบบประปา-สุขาภิบาล
รูปที่ 20 แผนภูมิแท่งแสดงการเปรียบเทียบปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบ โครงสร้างสำเร็จรูปด้านงานระบบไฟฟ้า
รูปที่ 21 แผนภูมิแท่งแสดงการเปรียบเทียบปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างสำเร็จรูป ด้านการบริหารการก่อสร้าง
รูปที่ 22 แผนภูมิแท่งแสดงการเปรียบเทียบปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างสำเร็จรูป ด้านอื่น ๆ

ส่วนที่ 5 ข้อมูลส่วนบุคคล

รูปที่ 23แผนภูมิแท่งแสดงร้อยละของจำนวนสมาชิก

จากรูปที่ 23 จำนวนสมาชิกที่อยู่อาศัย พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ 3 คน มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 39.67 รองลงมา คือ 2 คน 4 คน และ 5 คน ตามลำดับ และเมื่อแบ่งประเภทของที่อยู่อาศัย พบว่า

  • บ้านเดี่ยว มีจำนวนสมาชิกน้อยที่สุด  2 คน มากที่สุด คือ 8 คน
  • บ้านแฝด มีจำนวนสมาชิกน้อยที่สุด  2 คน มากที่สุด คือ 5 คน
  • บ้านแถว (ทาวน์เฮ้าส์) มีจำนวนสมาชิกน้อยที่สุด  2 คน มากที่สุด คือ 6 คน
  • อาคารชุด  มีจำนวนสมาชิกน้อยที่สุด  1 คน มากที่สุด คือ 7 คน
รูปที่ 24 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามรายได้สุทธิของครอบครัว

จากรูปที่ 24 รายได้สุทธิของครอบครัว พบว่า ส่วนใหญ่มีรายได้ 10,000 – 20,000 บาท มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40.67 รองลงมา คือ 20,001– 40,000 บาท  (ร้อยละ 35.33)   40,001– 60,000 บาท (ร้อยละ 18.33) และ ต่ำกว่า 10,000 บาท (ร้อยละ 5.00) ตามลำดับ โดยที่รายได้สูงกว่า 60,000 บาท มีจำนวนน้อยที่สุดเพียง 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.67

ส่วนที่ 6 การทดสอบสมมติฐาน

สมมติฐาน ภาพรวมความพึงพอใจ ระหว่างความถี่และความรุนแรงของ ปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างสำเร็จรูป ทั้ง 6 รายการ ประกอบด้วย งานโครงสร้างอาคาร, งานสถาปัตยกรรมและงานตกแต่ง, งานระบบประปา-สุขาภิบาล, งานระบบไฟฟ้า, การบริหารการก่อสร้าง และอื่น ๆ แตกต่างกัน

ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบความแตกต่างของภาพรวมความถี่และความรุนแรงของปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างสำเร็จรูป ทั้ง 6 รายการ ประกอบด้วย งานโครงสร้างอาคาร, งานสถาปัตยกรรมและงานตกแต่ง, งานระบบประปา-สุขาภิบาล, งานระบบไฟฟ้า, การบริหารการก่อสร้าง และอื่น ๆ

* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

จากตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของภาพรวมความถี่และความรุนแรงของปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างสำเร็จรูป ทั้ง 6 รายการ ประกอบด้วย งานโครงสร้างอาคาร, งานสถาปัตยกรรมและงานตกแต่ง, งานระบบประปา-สุขาภิบาล, งานระบบไฟฟ้า, การบริหารการก่อสร้าง และอื่น ๆ ด้วยการทดสอบค่าโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระกันโดยใช้สถิติทดสอบ ที แบบจับคู่ (Paired T-test) ใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 พบว่า

เมื่อพิจารณาจากค่า P พบว่า มี 2 ด้าน คือ งานระบบไฟฟ้า และอื่น ๆ มีความแตกต่างกันระหว่างความถี่และความรุนแรง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบผลต่าง (D) คะแนนเฉลี่ยของความถี่และความรุนแรง ทั้ง 2 ด้านพบว่า มีทิศทางเป็นลบทั้ง 2 ด้าน โดยคะแนนเฉลี่ยความรุนแรงมีค่าความรุนแรงน้อยกว่าความถี่ นั้นหมายความว่า งานระบบไฟฟ้า และอื่น ๆ มีความรุนแรงของปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างสำเร็จรูป น้อยกว่าความถี่

ผลการศึกษาในเขตพื้นที่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคตะวันออก

รูปที่ 25 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามจังหวัด

จากรูปที่ 25 พื้นที่ที่ทำการเก็บข้อมูล อยู่ในเขตภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคตะวันออก พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 67.9 รองลงมา คือ นครราชสีมา ร้อยละ 13.3 ชลบุรี มีจำนวนน้อยที่สุดเพียง 78 คน คิดเป็นร้อยละ 18.8

ส่วนที่ 1 ลักษณะที่อยู่อาศัย

รูปที่ 26 กราฟเปรียบเทียบร้อยละของความเห็นเกี่ยวกับระบบชิ้นส่วนสำเร็จ

จากรูปที่ 26 ความเห็นเกี่ยวกับระบบชิ้นส่วนสำเร็จ พบว่า ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าความเห็นเกี่ยวกับชิ้นส่วนสำเร็จรูป ไม่มีความเห็น/ไม่มีความรู้เกี่ยวกับระบบชิ้นส่วนสำเร็จ คิดเป็นร้อยละ 44.4 รองลงมา คือ มีความรวดเร็วในการก่อสร้าง ร้อยละ 31.4 และ อื่นๆ มีจำนวนน้อยที่สุดเพียง 10 คน คิดเป็นร้อยละ 2.4

รูปที่ 27 กราฟเปรียบเทียบร้อยละของความเห็นเกี่ยวกับการก่อสร้าง

จากรูปที่ 27 ความเห็นเกี่ยวกับการก่อสร้างที่พักอาศัยแบบดั้งเดิม พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ มีความคิดเห็น / ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้าง มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 51.9 รองลงมา คือ การก่อสร้าง ล่าช้า ร้อยละ 30.5 และ การก่อสร้างที่พักอาศัยแบบดั้งเดิมราคาสูง ร้อยละ 15.9 ตามลำดับ โดยที่ อื่นๆ : ถูกกว่า เพราะสร้างเอง มีจำนวนน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 1.9  และไม่มีความเห็นเกี่ยวกับการก่อสร้างพบว่า ส่วนใหญ่ ถูกกว่าเพราะสร้างเอง ร้อยละ 89.1 รองลงมาก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน ร้อยละ 88.9 และความแข็งแรงสู้ระบบ Precast ไม่ได้ ร้อยละ 88.4 ตามลำดับโดยที่ การก่อสร้างล่าช้า ร้อยละ 69.6 มีจำนวนน้อยที่สุด

รูปที่ 28 กราฟวงกลมแสดงร้อยละของความรู้เกี่ยวกับงานก่อสร้างที่พักอาศัย

จากรูปที่ 28 ประเภทของที่อยู่อาศัย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นอาคารชุดมีจำนวนมากที่สุด 212 คน คิดเป็นร้อยละ 51.2 รองลงมา คือ บ้านเดี่ยว ร้อยละ 44.7 และ บ้านแถว (ทาวน์เฮ้าส์) ร้อยละ 0.5ตามลำดับ ส่วนจำนวนชั้น ของแต่ละประเภทที่อยู่อาศัย พบว่าส่วนใหญ่สภาพที่อยู่อาศัยปัจจุบัน มีจำนวน 2 ชั้น ร้อยละ 50 รองลงมาได้แก่ ที่พักอาศัยที่มีขนาด 4 ชั้น ร้อยละ21.5  ที่พักอาศัยที่มีขนาด 5 ชั้น ร้อยละ 13 ที่พักอาศัยที่มีขนาด 3 ชั้น ร้อยละ 11.4 และที่พักอาศัยที่มีขนาด 1 ชั้น ร้อยละ 4.1 ตามลำดับ ดังรูปที่ 6

รูปที่ 28 กราฟวงกลมแสดงร้อยละของจำนวนชั้นของที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน

จากรูปที่ 28 ราคาที่อยู่อาศัย พบว่า ส่วนใหญ่มีราคาต่ำกว่า 1.0 ล้านบาทมีจำนวนมากที่สุด ถึง 256 คน คิดเป็นร้อยละ 51.8 รองลงมา คือ 1.5-2.0 ล้านบาท ร้อยละ 12.6 และ2.5-3.0 ล้านบาท ร้อยละ 11.4 ตามลำดับ โดยที่ ราคามากกว่า 3.0 ล้านบาทมีเพียง 6 คน คิดเป็นร้อยละ 1.4

รูปที่ 29 กราฟวงกลมแสดงร้อยละของราคาที่อยู่อาศัย
รูปที่ 29 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามการจอดยานพาหนะ: กรณีอาคารแนวราบ
รูปที่ 30 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามการจอดยานพาหนะ: กรณีอาคารชุด

จากรูปที่ 30 การจอดยานพาหนะโดยส่วนใหญ่กรณีอาคารแนวราบ พบว่า  จอดภายในบริเวณบ้านมีจำนวนมากที่สุดถึง 174 คน คิดเป็นร้อยละ 42.0 รองลงมา คือ ลักษณะที่อยู่เป็นอาคารชุด ร้อยละ 41.5 และจอดนอกบริเวณบ้านบริเวณพื้นที่ส่วนกลางที่โครงการจัดไว้ให้ ร้อยละ 9.7 ตามลำดับ โดยที่  จอดนอกบริเวณบ้านบริเวณพื้นที่ที่เป็นเส้นทางจราจร และอื่นๆ ไม่มีรถ มีจำนวนน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 0.7

กรณีอาคารชุด  พบว่า ส่วนใหญ่จอดในอาคารชุด คิดเป็นร้อยละ 56.3 และ จอดในที่จอดรถที่จัดไว้ ร้อยละ 29.2  ตามลำดับ ซี่งผู้ที่ ไม่มีรถ คิดเป็นร้อยละ 0.2

ส่วนที่ 2 พฤติกรรมการใช้พื้นที่ในอาคาร ความต้องการของผู้อยู่อาศัย และ การปรับปรุง ต่อเติมอาคาร

ตารางที่ 2 แสดงจำนวนและร้อยละของความเหมาะสมของวัสดุที่โครงการใช้กับราคาที่พักอาศัย (ส่วนที่ 2 ข้อ 1)

จากตารางที่ 2 ความเหมาะสมของวัสดุที่โครงการใช้กับราคาที่พักอาศัย พบว่า  ส่วนใหญ่คิดว่า เหมาะสม มีจำนวนมากที่สุด ถึง 335 คน คิดเป็นร้อยละ 81.0 และไม่เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 19.1 โดยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับชนิดของวัสดุที่ต้องการ คือ กระเบื้องปูพื้น-ผนังจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 6.5 รองลงมา คือ วัสดุผิวพื้นห้องนอน-ห้องโถง  ร้อยละ 6.0 และ สวิทช์-เต้ารับ ร้อยละ 4.1 ตามลำดับ

รูปที่ 31 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามความแข็งแรงของอาคาร

จากรูปที่ 31 ความแข็งแรงของอาคาร พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีความแข็งแรงเท่ากับ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิมมีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.3 รองลงมา คือ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีความแข็งแรงมากกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม  ร้อยละ 35.3 และ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีความแข็งแรงน้อยกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม ร้อยละ 15.9 ตามลำดับ

รูปที่ 32 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามความปลอดภัยของอาคาร

จากรูปที่ 32  ความปลอดภัยของอาคาร พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีความปลอดภัยเทียบสูงกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44.0 รองลงมา คือ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีความปลอดภัยเท่ากับ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม ร้อยละ38.4  และ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีความปลอดภัยต่ำกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม ร้อยละ  17.6 ตามลำดับ

รูปที่ 33 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามคุณภาพของอาคาร

จากรูปที่ 33  คุณภาพของอาคาร พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีคุณภาพเทียบเท่ากับ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44.9 รองลงมา คือ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีคุณภาพสูงกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม ร้อยละ 30.4 และ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีคุณภาพต่ำกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม ร้อยละ24.6 ตามลำดับ

รูปที่ 34 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามความรวดเร็วในการก่อสร้างอาคาร

จากรูปที่ 34  อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีปัญหาการรั่วซึมน้อยกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม

รูปที่ 35 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามปัญหาการรั่วซึม

จากรูปที่ 35  ปัญหาการรั่วซึม พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีปัญหาการรั่วซึมคล้ายกับ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43.0 รองลงมาอาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีปัญหาการรั่วซึมมากกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม คือ ร้อยละ 38.4 และ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มีปัญหาการรั่วซึมน้อยกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม 18.6 ตามลำดับ

รูปที่ 36 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามการซ่อมแซม

จากรูปที่ 36  การซ่อมแซม พบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ซ่อมแซมได้ง่ายและประหยัดเท่ากับ อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 34.3 รองลงมา อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ซ่อมแซมได้ง่ายและประหยัดกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม และอาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ซ่อมแซมได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดั้งเดิม คือ ร้อยละ 32.9 ตามลำดับ

ส่วนที่ 3 ความพึงพอใจในการซื้อที่พักอาศัย

ตารางที่ 3 แสดงจำนวนและร้อยละของความพึงพอใจในการซื้อที่พักอาศัย (ส่วนที่ 3 ข้อ 1-22)

จากตารางที่ 3 ความพึงพอใจในการซื้อที่พักอาศัย พบว่า  ภาพรวมมีความพึงพอใจระดับปานกลางทั้งหมด โดยที่ภาพรวมราคาบ้านที่อยู่ในระดับความสามารถ และ งบประมาณ ในการเป็นเจ้าของ หรือ อยู่อาศัยได้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 36.57 รองลงมาความเรียบร้อยและความสะดวกในการดำเนินการด้านเอกสารในวันส่งมอบบ้าน ราคา  คือ (  = 3.55)  ราคาบ้านสมเหตุสมผล เมื่อเทียบกับ คุณภาพ ขนาด พื้นที่ และคุณภาพวัสดุ ที่ได้รับ ( = 3.53)  การช่วยประสานงานต่าง ๆ ด้านการขอสินเชื่อกับธนาคาร ( = 3.52)  ตามลำดับ

ส่วนที่ 4 ความเห็นที่มีต่อปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างสำเร็จรูป

รูปที่ 37 แผนภูมิแท่งแสดงการเปรียบเทียบปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างสำเร็จรูประหว่างความถี่และความรุนแรง
รูปที่ 38 แผนภูมิแท่งแสดงการเปรียบเทียบปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างสำเร็จรูปด้านโครงสร้างอาคาร
รูปที่ 39 แผนภูมิแท่งแสดงการเปรียบเทียบปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้าง ด้านงานสถาปัตยกรรมและงานตกแต่ง
รูปที่ 40 แผนภูมิแท่งแสดงการเปรียบเทียบปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้าง ด้านงานระบบประปา – สุขาภิบาล
รูปที่ 41 แผนภูมิแท่งแสดงการเปรียบเทียบปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้าง ด้านระบบงานไฟฟ้า
รูปที่ 42 แผนภูมิแท่งแสดงการเปรียบเทียบปัญหาที่พบจากที่พักอาศัย ที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้าง ด้านการบริหารก่อสร้าง
รูปที่ 43 แผนภูมิแท่งแสดงการเปรียบเทียบปัญหาที่พบจากที่พักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบ โครงสร้าง ด้านอื่น ๆ

ส่วนที่ 5 ข้อมูลส่วนบุคคล

รูปที่ 44 กราฟวงกลมแสดงร้อยละจำแนกตามรายได้สุทธิของครอบครัว