การวิเคราะห์ความเสี่ยง

การวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการและเสนอแนวทางการจัดการความเสี่ยงของอาคารต้นแบบระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป

ทางทีมวิจัยได้วิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยงในด้านต่างๆ โดยศึกษาความเป็นไปได้ในการเกิดความเสี่ยงที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการ จากการทบทวนวรรณกรรมและสอบถามผู้เชี่ยวชาญ โดยได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

  • ความเสี่ยงในส่วนของการออกแบบและวางแผน (Pre Construction)
    • ใช้เวลาในการวางแผนที่นานขึ้น ในการออกแบบชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูป
    • ใช้เวลาในการวางแผนที่นานขึ้นในการขนส่งและติดตั้งชิ้นส่วนสำเร็จรูป
    • มีการจัดการเอกสารที่เกี่ยวข้องและ shop drawing เป็นจำนวนที่มากขึ้น
    • ขาดสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจากการลงทุนสูงในระยะแรก
    • ข้อจำกัดในการออกแบบสถาปัตยกรรม ที่เกิดจากการข้อจำกัดของโครงสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูป
    • การพังทลายของโครงสร้างที่เกิดจากการเสียหายของจุดเชื่อมต่อ
    • เกิดรอยร้าวในคานและผนัง สาเหตุจากโครงสร้างของคานคอดินที่เป็น hinged joint ส่งผลให้เกิดความแตกต่างของ degree of rotation
    • differential settlement ที่เกิดจากการทรุดตัวของคานคอดิน
  • ความเสี่ยงในระหว่างงานก่อสร้างและการขนส่ง (Construction and Mobilization)
    • การขาดแคลนแรงงาน และช่างฝีมือที่มีความรู้ความชำนาญ ในการทำงานชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป
    • การขาดแคลนเครื่องจักรขนาดใหญ่ในพื้นที่ของแต่ละจังหวัด หรือมีเครื่องจักรไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
    • การขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญที่ควบคุมงาน ที่มีความชำนาญในด้านชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป
    • การก่อสร้างที่ไม่ยืดหยุ่น หากเกิดข้อผิดพลาด ส่งผลให้งานหยุดชะงักได้
    • ใช้เวลานานและค่าใช้จ่ายสูงในการการขนส่งชิ้นส่วนขนาดใหญ่
    • พื้นที่กองเก็บไม่เพียงพอบริเวณสถานที่ก่อสร้าง
    • ความเสียหายเนื่องจากการขนส่ง และการกองเก็บการพังทลายของโครงสร้างที่เกิดจากการเสียหายของจุดเชื่อมต่อ
  • ความเสี่ยงภายหลังงานก่อสร้าง (Post Construction)
    • ผู้อยู่อาศัยไม่สามารถต่อเติมได้ หรือทำได้ยาก
    • ปัญหารอยรั่วซึมของรอยต่อแผ่นคอนกรีตสำเร็จบริเวณที่สัมผัสน้ำ ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง
    • ปัญหาน้ำรั่วซึมระหว่างแผ่นพื้นและบริเวณท่อน้ำ
    • ปัญหาทางเชื่อมระหว่างอาคารและพื้นเดิมทรุดตัวไม่เท่ากัน
  • ความเสี่ยงทางด้านสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
    • ผู้อยู่อาศัยมักมีความเข้าใจผิดว่าโครงสร้างบ้านชิ้นส่วนสำเร็จรูป ไม่แข็งแรง พังทลายง่าย
    • การต่อต้านจากสังคมและชุมชนโดยรอบ หากมีการก่อสร้างในเขตชุมชนอนุรักษ์
    • การต่อต้านจากสังคมและชุมชนโดยรอบ หากมีการก่อสร้างในเขตพื้นที่สีเขียว
    • การต่อต้านจากสังคมและชุมชนโดยรอบ หากมีแนวโน้มส่งผลกระทบทางด้านจราจร
    • การหยุดหรือยกเลิกโครงการจากสังคมและชุมชนโดยรอบ

ในส่วนที่สองได้จากการตอบแบบสอบถามทั้งหมด 300 ชุด ในส่วนของปัญหาที่พบเจอทั้ง 36 ข้อ ดังที่กล่าวมาในบทก่อนหน้า โดยให้ผู้ตอบแบบสอบถามให้คะแนนความถี่ของการพบเจอ และความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยหัวข้อทั้ง 36 ปัญหาประกอบด้วย

  • ปัญหาโครงสร้างอาคาร 10 ปัญหา ประกอบด้วย ปัญหาบ้านทรุด พื้นห้องน้ำรั่ว พื้นระเบียงน้ำรั่ว คอนกรีตโครงสร้างเป็นรูพรุน รอยร้าวที่ผนัง รอยร้าวตามขอบประตู-หน้าต่าง รอยร้าวที่พื้น เช่น พื้นโรงรถ พื้นระเบียง น้ำซึมเข้าตามรอยร้าวผนัง หรือรอยต่อผนัง น้ำรั่วซึมเข้าทาง ประตู หน้าต่าง และหลังคารั่ว
  • ปัญหางานสถาปัตยกรรมและงานตกแต่ง 8 ปัญหา ประกอบด้วย กระเบื้องปูพื้นแตกร้าวหรือหลุดร่อน กระเบื้องปูผนังแตกร้าวหรือหลุดร่อน ปูกระเบื้องพื้นแล้วน้ำขัง ตามห้องน้ำ หรือ ระเบียง พื้นลามิเนตยุบ ฝ้าภายในเกิดรอยร้าว ฝาผนังไม่เรียบ ผนังหรือเสาเอียงไม่ได้เหลี่ยมไม่ได้ฉาก และสีหลุดร่อน
  • ปัญหางานระบบไฟฟ้า 4 ปัญหา ประกอบด้วย ระบบไฟฟ้าแสงสว่างชำรุด ระบบไฟฟ้าเต้ารับชำรุด ตำแหน่งไฟฟ้าแสงสว่างมีไม่เพียงพอ และตำแหน่งเต้ารับไฟฟ้ามีไม่เพียงพอ
  • ปัญหาการบริหารการก่อสร้าง 3 ปัญหา ประกอบด้วย การควบคุมงานไม่ได้มาตรฐาน การขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบระหว่างการก่อสร้าง และการส่งมอบไม่ทันตามเวลา
  • ปัญหาอื่นๆ 7 ปัญหา ประกอบด้วย ความร้อนภายในอาคารที่พัก เสียงรบกวนจากชั้นบน เสียงรบกวนจากที่พักอาศัยข้างเคียง เสียงรบกวนจากที่พักอาศัยข้างเคียง ความชื้นในผนัง การดัดแปลงต่อเติมบ้านทำได้ลำบาก ปลวกขึ้นบ้าน

จากคำตอบของแบบสอบถาม ได้หยิบนำปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปได้ โดยนำคะแนนที่ผู้อยู่อาศัยได้ให้ค่าน้ำหนักคะแนนความถี่และความรุนแรง โดยเลือกปัญหาที่มีคะแนนสูงที่สุดมา 5 ปัญหา เรียงลำดับจากผลคูณจากมากไปน้อย ประกอบด้วย ปัญหาการควบคุมงานไม่ได้มาตรฐาน (L 2.80, I 2.71) ปัญหาพื้นห้องน้ำรั่ว (L 2.77, I 2.71) ปัญหาบ้านทรุด (L 2.76, ความรุนแรง 2.71)  และปัญหาน้ำซึมเข้าตามรอยร้าวผนังหรือรอยต่อผนัง (L 2.74, I 2.68) และปัญหาระบบประปาชำรุด (L 2.70, I 2.61)

สรุปการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงต่อการเลือกใช้ระบบก่อสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่เหมาะสมกับผู้พักอาศัยที่มีรายได้น้อย–ปานกลาง

รูปแบบของความเสี่ยงในระดับสูงของการประเมินความเสี่ยงต่อการเลือกใช้ระบบก่อสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่เหมาะสมกับผู้พักอาศัยที่มีรายได้น้อย–ปานกลาง มีหลายปัจจัยเสี่ยงที่ควรดูและควบคุมอย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย

  1. ขาดสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจากการลงทุนสูงในระยะแรก
  2. การขาดแคลนแรงงาน และช่างฝึมือที่มีความรู้ความชำนาญ ในการทำงาน
  3. การขาดแคลนเครื่องจักรขนาดใหญ่ในพื้นที่ของแต่ละจังหวัด หรือมีเครื่องจักรไม่เพียงพอ
  4. การขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญที่ควบคุมงาน ที่มีความชำนาญในด้านชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป
  5. การก่อสร้างที่ไม่ยืดหยุ่น หากเกิดข้อผิดพลาด ส่งผลให้งานหยุดชะงักได้
  6. ใช้เวลานานและค่าใช้จ่ายสูงในการการขนส่งชิ้นส่วนขนาดใหญ่
  7. ผู้อยู่อาศัยไม่สามารถต่อเติมได้ หรือทำได้ยาก
  8. ผู้อยู่อาศัยมักมีความเข้าใจผิดว่าโครงสร้างบ้านชิ้นส่วนสำเร็จรูป ไม่แข็งแรง พังทลายง่าย
  9. ปัญหารอยรั่วซึมของรอยต่อแผ่นคอนกรีตสำเร็จบริเวณที่สัมผัสน้ำ ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง

จากผลการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงตามโครงการทาง เป็นเพียงการระบุถึงสถานะความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการประเมินสภาพแวดล้อมในการวางแผนงานก่อสร้างในการประยุกต์การนำชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปมาใช้ โดยทำการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงและนำเสนอระดับความเสี่ยงในสภาพ ณ ปัจจุบัน และนำเสนอแนวทางควบคุมความเสี่ยงที่จะช่วยให้ผู้บริหารและทีมงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน สามารถนำข้อเสนอแนะดังกล่าวไปใช้เป็นกรอบในการลดระดับความเสี่ยงใช้เป็นมาตรการในการควบคุมความเสี่ยงให้โครงการต่างๆ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ร่วมกันได้